255 คณาจารย์ ขอศาลทบทวน ปล่อยราษฎร กวิ้น-อานนท์

เมื่อ 15 ก.พ. 64 ที่ เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ถ.งามวงศ์วาน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง นำโดย ผศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ, รศ.ดร. ยุกติ มุกดาวิจิตร, ผศ.ดร. บุญเลิศ วิเศษปรีชา จาก ม.ธรรมศาสตร์ และ รศ.ดร. พวงทอง ภวัครพันธุ์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วยองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรรมศาสตร์ (อมธ.) นำโดย น.ส.พร้อมพร พันธุ์โชติ (น้ำผึ้ง) นายกองค์การฯ

วัตถุประสงค์ เพื่ออ่านแถลงการณ์พร้อมแสดงรายชื่อนักวิชาการ คณาจารย์จำนวน  255 รายชื่อ จาก 31 สถาบัน ที่สนับสนุนให้มีการทบทวนให้แกนนำคณะราษฎร ทั้ง 4 คน ได้ประกันตัว พร้อมฝากหนังสือให้ นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ นศ.คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ยอดมวลชน 30 คน

เวลา 1000 น. กลุ่มเดินทางมาที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ถ.งามวงศ์วาน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ

ผศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ ได้อ่านแถลงการณ์ พร้อมอ่านรายชื่อ จำนวน 13 คน จาก 255 คน และ ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชน ว่า กลุ่มคณาจารย์/นักวิชาการจะเรียกร้องขอประกันตัวไปเรื่อยๆ เพราะสิทธิการประกันตัวเป็นสิทธิของทุกคน เหตุการณ์ชุมนุมที่มีรัฐบาลเป็นผู้ขัดแย้ง ขอให้ศาลคืนสิทธิในการได้รับการประกันตัวระหว่างถูกดำเนินคดีแก่ผู้ถูกสั่งฟ้องจากการชุมนุม

ขอฝากไปยังรัฐบาล ว่าที่ผ่านมา การชุมนุมของกลุ่มคณะราษฎร เป็นไปด้วยดี การที่ จนท.มีการจับกุม แล้วไม่ให้ประกันตัวถือเป็นการเพิ่มอุณหภูมิ การเมือง รัฐบาลจะเเก้ไขปัญหาบ้านเมืองได้ยากขึ้น ซึ่งการขัดแย้งหรือเหตุปะทะและการเผชิญหน้ากัน ระหว่าง มวลชนกับ จนท.รัฐ จริงแล้วจะไม่เกิดขึ้นเลย ถ้าภาครัฐ ยอมรับฟังและเคารพสิทธิของ ปชช. จากนี้ทางคณะอาจารย์และทีมทนายความ จะเดินหน้าไปทำเรื่องขอประกันตัวแกนนำ ที่ศาลอาญา ต่อไป

เวลา 1015 น. ด้าน น.ส.พร้อมพร พันธุ์โชติ นายก อมธ. ได้อ่านแถลงการณ์ในลักษณะเดียวกัน เพื่อเป็นกำลังใจ นายพริษฐ์ฯ ฐานะเพื่อนนักศึกษา ที่ถูกจองจำอยู่ และ นักศึกษาอีก 5 คนที่คาดว่าจะถูกยื่นฟ้องใน 17 ก.พ. 64 ด้วย

เวลา 1025 น. กลุ่มตัวแทน นศ.มธ.กว่า 10 คน นำโดยนายชลธิศ โชติสวัสดิ์ และนายชนินทร์ วงษ์ศรี ได้ทำกิจกรรม อ่านกวี, อ่านบทความของนายอานนท์ นำภา และร่วมกันขับร้องเพลง บทเพลงของสามัญชน

เวลา 1035 น. หลังเสร็จสิ้นกิจกรรม กลุ่มคณาจารย์ นักวิชาการ และกลุ่มเพื่อน นักศึกษา มธ. มีการเตรียมนำหนังสือที่เกี่ยวข้องประกอบการเรียนและหนังสือ ที่นายพริษฐ์ฯ ชอบอ่านมายื่น เพื่อฝากให้นายพริษฐ์ฯ

เวลา 1050 น. กลุ่มฯ ได้ฝากสิ่งของหนังสือ ผ่านทนายความ เพื่อเข้าเยี่ยม แกนนำภายในเรือนจำ เนื่องจากทาง จนท. ราชทัณฑ์ ยังไม่อนุญาตให้บุคคลอื่นเข้าเยี่ยม นอกจากทนายความเท่านั้น

กลุ่มนักวิชาการ, กลุ่มนศ.และมวลชนบางส่วน ยังคงรอฟังข่าวถามแนวทางการช่วยเหลือแกนนำฯ จากทนายความ ในพื้นที่

เวลา 1225 น. กลุ่มนักวิชาการ ได้เดินทางกลับ

ทีมทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน จำนวน 3  คน นำโดยนายกฤษฎางค์ นุตจรัส (ทนายด่าง) และนายสุรชัย ตรงงาม นักกฏหมาย เข้าเป็นทนายความ และเข้าเยี่ยม โดยทางเรือนจำ มีมาตรการป้องกันโควิด 19 โดยการให้เข้าเยี่ยมด้วยการผ่าน Video Conference

เวลา 1230 น. นายกฤษฎางค์ฯ ได้ออกมากล่าวต่อสื่อมวลชนว่า หลังได้เข้าเยี่ยมแกนนำ ทุกคนยังมีสภาพจิตใจที่ดี อยู่ระหว่างการปรับตัว เรื่องห้องสุขา อาหารการกิน และต้องระมัดระวังการถูกทำร้ายภายใน เนื่องจากเกรงว่าอาจมีใบสั่ง ด้ายนายพริษฐ์ฯ มีอาการป่วยเป็นโรคหอบหืด และนายสมยศฯ ป่วยเรื่องไขข้อ

ส่วนนายอานนท์ฯ เชื่อว่าสิ่งที่เขาทำเป็นสิ่งที่ถูกต้อง เข้าใจถึงผลลัพธ์ ไม่ว่าจะเป็น คดี ม.112, ม.116 โทษสุดสุดอาจถึง 15 ปี ข้อเรียกร้องของแกนนำในเรือนจำ คือขอให้ยื่นร้องขอประกันตัวชั่วคราว และจะขอสู้ตามกระบวนต่อไป

ซึ่งตนฯ เห็นว่า จากเหตุการณ์เห็นว่ารัฐบาลพยายามเร่งรัดให้จับกุมแกนนำ เพื่อดำเนินคดี มีข้อสังเกตุ คือในสำนวน พนักงานอัยการไม่คัดค้านการประกัน จึงเป็นดุลพินิจของศาลอาญา แต่ศาลอาญา ไม่ให้ประกัน เกรงว่าแกนนำจะกระทำการผิดซ้ำ อาจเพียงเพราะศาลฯ อ่านข่าวจากหนังสือพิมพ์อย่างเดียว จึงไม่เข้าใจและไม่ปฏิบัติตามหลักของกฎหมาย

นายกฤษฎางค์ฯ กล่าวอีกว่า การขอปล่อยตัวชั่วคราว ทนายความได้ดำเนินการยื่นแล้วในเบื้องต้นในศาลชั้นต้น แต่ยังไม่ทราบผล ซึ่งกระบวนการที่น่ากลัวที่สุดก็คือกระบวนการที่ล่าช้า ญาติพี่น้องใครไม่โดนคงไม่รู้สึก การพิจารณาให้ปล่อยตัวชั่วคราวต้องได้รับการพิจารณาโดยเร็ว ยกเว้นแต่เข้าหลักเกณฑ์ 4 ข้อ แต่คดีนี้ยังไม่เห็นมีแกนนำคนใดที่จะเข้าหลักเกณฑ์การคัดค้านฯ

นอกจากนี้ นายกฤษฎางค์ฯ ยังเปิดเผยอีกว่า พบมีข้อมูลการจับกุมตัว แนวร่วมคณะราษฎรจำนวน 11 คน ในการ กระชับพื้นที่การชุมนุม เมื่อวันที่ 13 ก.พ.ที่ผ่านมา อย่างไร้มนุษยธรรม มีการตรวจสอบปล่อยตัวไป 3 ราย และอีก 8 ราย ที่ถูกควบคุมตัวไปสอบสวน ที่ ตชด.ภาค 1 จ.ปทุมธานี โดยไม่ให้ทนายความเข้าร่วมฟังการสอบสวน ซึ่ง ไม่เกิดประโยชน์และอาจเพิ่มเป็นอุณหภูมิการเคลื่อนไหวการชุมนุมให้สูงขึ้นได้

หลังนายกฤษฎางค์ฯ ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชน เสร็จสิ้น พบกลุ่มเครือข่ายศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน (TLHR) กว่า 20 คน นำโดย  น.ส.เยาวลักษณ์ อนุพันธุ์ หน.ศูนย์ทนายฯ เดินทางในพื้นที่มาพร้อมทั้งแจกใบแถลงการณ์ต่อสื่อมวลชน โดยเนื้อหาเป็นการร่วมเรียกร้องให้ยุติการดำเนินคดีกับผู้ใช้เสรีภาพในการแสดงออก เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ และประกันสิทธิในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม

เวลา 1255 น. กลุ่มฯ ได้ถ่ายรูปร่วมกันบริเวณด้านหน้าป้ายเรือนจําพิเศษกรุงเทพ

เวลา 1320 น. ทีมทนายความฯ พร้อมกลุ่ม นศ.และมวลชน ได้ทยอยแยกย้ายเดินทางกลับ

อ่านต่อ