ไมค์ นำราษฎร แรงงานฯ ทวงเยียวยา 5 พันบาท ตัดงบกองทัพ-สถาบันฯ

เมื่อ 25 ม.ค.64 ที่ ทำเนียบรัฐบาล กรณีเครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน และ องค์กรภาคี ที่ได้รับผลกระทบด้านแรงงานจากสถานการณ์โควิด-19 นำโดย น.ส.ธนพร วิจันทร์, น.ส.สุธิลา ลืนคำ และ น.ส.พัชณีย์ คำหนัก กลุ่มคณะประชาชนเพื่ออิสรภาพ เดินทางมาเรียกร้อง ขอให้รัฐบาลมีมาตรการการเยียวยาจากผลการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือโควิด-19 ครั้งใหม่ ต้องครอบคลุมทุกคนในประเทศ นั้น

เวลา 11.20 น. ยอดมวลชน ประมาณ 80 คน ช่วงที่ผ่านมา ตัวแทนแรงงานจากภาคส่วนต่างๆ สลับปราศรัยข้อเรียกร้องต่อการเยียวยาของภาครัฐฯ

นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข กล่าวถึง การเยียวของภาครัฐ ที่เป็นไปแบบขอไปที เรียกร้องลดงบฯที่ไม่จำเป็น และ ค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยออกไปอาทิ งบประมาณจากการโอนย้ายกำลังพล ที่ทำงานไม่คุ้มค่า โจมตีประเด็นการซื้ออาวุธของกองทัพฯ งบกระทรวงกลาโหม รวมถึง งบประมาณที่จ่ายให้กับ สว. 250 คน, เรียกร้อง ลดงบฯการดูงานต่างประเทศ มาตรการเยียวยาที่ผ่านมาเป็นไปแบบขอไปที โดยเรียกร้องการเยียวยาแบบถ้วนหน้า

ตัวแทนสหภาพแรงงานสร้างสรรค์ กล่าวถึงเรียกร้องการเยียวยาแบบไม่ต้องพิสูจน์ความจน และ เป็นการเยียวยาแบบถ้วนหน้า

ตัวแทนสหภาพแรงงานศิลปิน โดยกล่าวถึงคนทำงานด้านศิลปะ ได้รับผลกระทบจากการผลิต ในช่วงโควิด-19 ระบาดเช่นกัน  โดยกลุ่มที่ทำงานฟรีแลนซ์ และ ทุกอาชีพ ต้องถูกเยียวยาเท่าเทียมกัน

ศรีไพร นนทรีย์ กล่าวถึง การจัดงบฯเยียวยาให้กับราชการ และ วิสาหกิจโดยกลุ่มไม่ได้คัดค้าน ซึ่งทุกกลุ่มควรได้รับการเยียวยา 5000 บาทโดยถ้วนหน้า รวมถึงผู้ประกันตนตาม ม.33 ด้วยเช่นกัน / กระทรวงแรงงาน ไม่ได้แจ้ง คนงาน ที่กลับไปภูมิลำเนา และ กลับมา ถูกกักตัว มองเป็นการผลักภาระให้ไปเอาเงินประกันสังคม / โจมตีนโยบายการเรียนออนไลน์ สร้างภาระ / แรงงานที่มีสหภาพแรงงานฯ ถือว่าโชคดี แต่มีอีกหลายคนหลายโรงงานที่ประสบปัญหา โดยหากรัฐไม่สามารถแก้ปัญหาได้เรียกร้องให้รัฐบาลลาออก

ตัวแทนเยาวชน อายุต่ำกว่า 18 ปี กล่าวถึงค่าใช้จ่ายที่มากขึ้นในการเรียนออนไลน์ แต่กลับไม่มีการเยียวยาจากภาครัฐ แม้สิทธิในการลงทะเบียน ก็ยังไม่สามารถดำเนินการได้ เรียกร้องรัฐสวัสดิการ ไม่ใช่รูปแบบจากการชิงโชค การออกมาเคลื่อนไหวเนื่องจากได้รับความเดือดร้อน เรียกร้องออกมาร่วมเรียกร้องให้ถึงที่สุด

ตัวแทนแรงงานจาก จ.สมุทรปราการ เรียกร้องถึงนายจ้างเห็นใจ กรณีค่าแรง และ รายจ่ายของลูกจ้างแรงงาน วิงวอนภาครัฐเห็นใจกับความเดือดร้อน พวกตนจึงต้องออกมาเคลื่อนไหว

ธนพร วิจันทร์ แรงงานเพื่อสิทธิประชาชนกล่าวโจมตี ภาพรวมนโยบายของรัฐ โดยเฉพาะประเด็นการเยียวยา ต่อผู้ประกันตนตาม ม.33 รวมถึงผู้ประกอบอาชีพอิสระ ซึ่งไม่มีศักยภาพในการจ่ายเงินในระบบประกันสังคม / โจมตี นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ ภายหลังมีการยื่นหนังสือหลายครั้งแต่กลับไม่มีความคืบหน้า

นายภาณุพงศ์ จาดนอก (ไมค์) กล่าวถึงปัญหาที่รัฐบาลสร้างแต่ทิ้งภาระให้กับประชาชน ในรูปแบบหารชิงโชค และ ให้ประชาชนแสวงหาสิทธิ์เอาเอง ย้ำข้อเรียกร้องการเยียวยาอย่างถ้วนหน้า ประชาชนไม่ต้องแก่งแย่ง โดยเงิน 3500 ไม่เพียงพอต่อการนำไปใช้จ่าย โดยเรียกร้องรัฐหยุดข้ออ้างเรื่องงบฯไม่เพียงพอ ขอให้บริหารจัดการรัฐสวัสดิการที่เท่าเทียมเพียงพอ

เวลา 11.34 น. เครีอข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชนอ่านอ่านจดหมายเปิดผนึก ภาพรวมเป็นการ โจมตี กรณีมาตรการเยียวยา, การให้สัมภาษณ์ ที่ไม่ต้องการให้ประชาชนสัมผัสเงินสด, การผลักภาระให้ไปใช้เงินทุนฯ อาจสุ่มเสี่ยงต่อการปรับโครงสร้างของบริษัท ทำให้ได้รับผลกระทบต่อแรงงาน มีการถูกเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

โดยเรียกร้องต่อรัฐบาล ทุกกลุ่มแรงงานจะต้องได้รับการเยียวยา 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน เป็นต้น

ช่วงท้ายตัวแทนสหภาพแรงงานได้ทำการแสดงเชิงสัญลักษณ์

เวลา 11.45 น. กลุ่มฯประกาศยุติกิจกรรม ทยอยเดินทางกลับ เหตุการณ์ทั่วไปปกติ

อ่านต่อ