เฟมินิสต์ปลดแอก ถาม DSI สยาม หายตัวไปไหน เมื่อ 2 มิ.ย. 64 ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ DSI กลุ่มเฟมินิสต์ปลดแอก วัตถุประสงค์จัดกิจกรรม “สยาม อยู่ ไหน?” 2 ปีที่ “สูญหาย” เพื่อทวงคืนความเป็นธรรมให้ “สยาม”
เวลา 0930 น. ยังไม่พบกลุ่มเฟมินิสต์ปลดแอก เดินทางมาที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ DSI
เวลา 0950 น. กัญญา ธีรวุฒิ (มารดาของนายสยาม) พร้อมด้วยทนายความเดินทาง มายื่นหนังสือให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ รับเรื่องนายสยาม ผู้สูญหาย เป็นคดีพิเศษ
เวลา 0955 น. อยู่ระหว่างยื่นหนังสือ
เวลา 1038 น. นายสุรพงษ์ กองจันทร์ทึก ประธานมูนิธิผสานวัฒนธรรม ศูนย์ทนายความสิทธิมนุษยชน พร้อมด้วยนางกัญญา ธีรวุฒิ (มารดาของนายสยาม) และญาติผู้สูญหายได้ยื่นหนังสือให้กับ พ.ต.ท.กรวัชร์ ปานประภากร อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ DSI.
ก่อนหน้านี้เคยเดินทาง ไปเรียกร้องให้หน่วยงานภาครัฐตามหาผู้ลี้ภัยที่สูญหาย โดยเข้าไปยังกรมคุมครองสิทธิและเสรีภาพซึ่งทางด้านกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ได้มีตัวแทนจากกรมคุ้มครองสิทธิฯ ชี้แจงภารกิจของกรมพร้อมแนะนำคณะอนุกรรมการคัดกรอง คณะอนุกรรมการติดตามและคณะอนุกรรมการเยียวยาญาติผู้เสียหายในขณะเดียวกันได้กล่าวถึงความคืบหน้าในกรณีการติดตามการหายตัวไปของนายสยาม ธีรวุฒิ ว่า ทางสหประชาชาติได้มีหนังสือแจ้งมาถึงรัฐบาลไทยเมื่อเดือนธันวาคม 2562 ว่าสหประชาชาติได้ขึ้นบัญชีให้นายสยาม ธีรวุฒิ เป็นบุคคลสูญหายของสหประชาชาติ ตามกลไกของคณะทำงานด้านการบังคับสูญหายโดยไม่สมัครใจขององค์การสหประชาชาติ (UN Working Group on Enforced or Involuntary Disappearance –WGEID) ที่ประเทศเวียดนามแล้ว ซึ่งสยามถือเป็นเคสที่ยังต้องติดตามความคืบหน้าเพือสืบหาความจริงกันต่อไป
ต่อมานางกัญญา ธีรวุฒิ (มารดาของสยาม) ได้เดินทางเข้ายื่นหนังสือร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ศูนย์ราชการฯ ถ.แจ้งวัฒนะ โดยมี ชนินทร์ เกตุปราชญ์ ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานและติดตามการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เป็นตัวแทนรับเรื่อง ส่วนทางด้านคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ได้ชี้แจงว่าการดำเนินการเรื่องของนายสยาม ธีรวุฒิ
ซึ่งญาติเคยยื่นร้องเรียนไว้ก่อนหน้านี้แล้ว นายชนินทร์ เกตุปราชญ์ ได้ชี้แจงว่าทาง กสม. ได้ยุติเรื่องของทั้งสองคนในชั้นการตรวจสอบของ กสม. แล้ว ตามรายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษชน ที่ 107-108/2563 ลงวันที่ 1 เม.ย. 63 และได้ส่งข้อเสนอแนะอื่นไปยังคณะกรรมการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์กรณีถูกกระทำทรมานและบังคับให้หายสาบสูญ ซึ่งเป็นหลักประกันให้แก่ประชาชน ในขณะที่ยังไม่มีกฎหมายภายในใช้บังคับเรื่องการบังคับให้หายสาบสูญตามกฎหมายระหว่างประเทศ
รวมทั้งยังส่งข้อเรื่องไปยังคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาและแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการลอบประทุษร้ายประชาชน สภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้ศึกษาและตรวจสอบเกี่ยวกับกรณีผู้ลี้ภัยทางการเมืองที่ถูกบังคับให้สูญหาย และคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการต่อ ในเรื่องเร่งรัดให้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย
เวลา 1120 น. กลุ่มได้เดินทางกลับ