พันธมิตรฯ สดุดีผู้เสียชีวิต 7 ตุลา ชี้ชนวนเหตุม็อบคนรุ่นใหม่ เพราะรัฐบาลไม่น่าเชื่อถือ

7 ต.ค.63 พันธมิตรฯ สดุดีผู้เสียชีวิต 7 ตุลา ชี้ชนวนเหตุม็อบคนรุ่นใหม่ เพราะรัฐบาลไม่น่าเชื่อถือ
: ที่ บ้านเจ้าพระยา ถนนพระอาทิตย์
: กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
: จัดงาน “ทำบุญครบรอบ 12 ปี 7 ตุลา รำลึก” 12 ปีแห่งการจากลา ต้องไม่สูญเปล่า

: เวลา 1010 น. พิธีกร เล่าถึงเหตุการณ์ในวันที่ 7 ต.ค.51 และอ่านรายชื่อผู้สูญเสียทั้ง 13 คน
– รายชื่อผู้เสียชีวิตระหว่างการชุมนุมของพันธมิตรฯ ในปี 2551 มีดังนี้
1. น.ส.อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ ถูกระเบิดแก๊สน้ำตาที่หน้าอก บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า เมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2551 เวลาประมาณ 16.00 น.

2. พ.ต.ท.เมธี ชาติมนตรี ถูกระเบิดในรถยนต์หน้าพรรคชาติไทย เมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2551 เวลาประมาณ 15.00 น.

3. นายสมเลิศ เกษมสุขปราการ หัวใจล้มเหลว เมื่อวันที่ 21 ต.ค. 2551
4. นายสมชาย ศรีประจันต์ ถูกวิสามัญฆาตกรรมโดยตำรวจ เมื่อวันที่ 23 ต.ค. 2551
5. นายเจนกิจ กลัดสาคร ถูกระเบิดที่ศีรษะ เมื่อวันที่ 20 พ.ย. 2551 หน้าเวทีในทำเนียบรัฐบาล
6. นายยุทธพงษ์ เสมอภาพ ถูกระเบิดที่ศีรษะ เมื่อวันที่ 22 พ.ย. 2551 ที่บริเวณสี่แยกมิสกวัน
7. นายเศรษฐา เจียมกิจวัฒนา ถูกฟันและยิงจนเสียชีวิต ที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2551

8. น.ส.กมลวรรณ หมื่นหนู ถูกระเบิดที่ศีรษะ หน้าเวทีในทำเนียบรัฐบาล วันที่ 29 พ.ย. 2551
9. นายรณชัย ไชยศรี ถูกระเบิดเสียชีวิตที่ดอนเมือง เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2551
10. น.ส.ศศิธร เชยโสภณ ประสบอุบัติเหตุในขณะที่ขนย้ายออกจากทำเนียบรัฐบาล กลางคืนวันที่ 2 ธ.ค. 2551 เสียชีวิตวันที่ 6 ธ.ค. 2551
11. นายเสถียร ทับมะลิผล ถูกสะเก็ดระเบิดที่บริเวณศีรษะซ้ายอาการโคม่า เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2551 เสียชีวิตเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2555
12. นางรุ่งทิวา ธาตุนิยม ถูกเบิดแก๊สน้ำตาเข้าที่บริเวณศีรษะได้รับบาดเจ็บสาหัส สมองหายไปข้างหนึ่งพร้อมดวงตาข้างซ้าย เมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2551 เสียชีวิตเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2559
13. นายประเสริฐ แก้วกระโทก ถูกทำร้ายขณะไปชุมนุมที่สนามบินดอนเมือง เสียชีวิตในปี 2557

– นอกจากนี้พิธีกรยังได้สดุดีและไว้อาลัยให้กับ นายศรัณยู วงษ์กระจ่าง และ นายเติมศักดิ์ จารุปราณ ที่เสียชีวิตด้วยเช่นกัน

: เวลา 1045 – 1240 น. เสวนา ในหัวข้อ “อนาคตประเทศไทย” ร่วมเสวนาโดย นายพิภพ ธงไชย, นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์, คุณรสนา โตสิตระกูล, นายพิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต, ดำเนินรายการโดย คุณรัตติกรณ์ จารุเกษตรวิทย์

สรุปสาระได้ดังนี้
* หลายสิบปีที่ผ่านมา ยังคงวนเวียนโต้เถียงกันในเรื่องของการแก้รัฐธรรมนูญ โต้เถียงกันระหว่างการรัฐประหารกับประชาธิปไตย
* ประเทศไทยจมปลักอยู่กับวิกฤตทางการเมือง แบ่งฝักแบ่งฝ่าย จนทำให้ประชาชนรู้สึกท้อแท้ใจ ยิ่งมีสถานการณ์โควิดเกิดขึ้น ทำให้วิกฤตนั้นหนักหน่วงยิ่งขึ้น ใจกลางของปัญหาในการเรียกร้องนั้นเกิดขึ้นเพราะ ระบบเศรษฐกิจที่ไม่เป็นธรรม การบังคับใช้กฎหมายไม่เป็นธรรม ไม่เท่าเทียม การมีระบบอุปถัมภ์ (คดีบอสอยู่วิทยา) ทำให้เกิดเป็นจุดแตกหักระหว่างรุ่น การแก้ไขปัญหา เราอย่าหลงลืมวัฒนธรรมแห่งความสันติ การแบ่งปัน การช่วยเหลือ และสร้างรอยยิ้ม ต้องสร้างเศรษฐกิจที่เป็นธรรม นโยบายสาธารณะต้องไม่เอื้อกลุ่มทุน ลดการทุจริตคอรัปชั่น สร้างกฎหมายที่เป็นธรรม และร่วมกันรับฟังกันในระหว่างรุ่น
* การที่คนรุ่นใหม่ออกมาเรียกร้องและชุมนุมนั้น เกิดจากเงื่อนไขโดยสภาพของรัฐบาลมีความง่วนแง่น ขาดความน่าเชื่อถือ ความนิยมตกต่ำ พรรคร่วมรัฐบาลมีความแตกแยก ความยากลำบากในการหาคนมาทำหน้าที่เป็นรัฐมนตรี รัฐสภาเกิดความคลอนแคลน หลอกประชาชนในวันที่ 24 ส.ค.63 ว่าจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ จึงเป็นจุดที่ประชาชนคนรุ่นใหม่ทนไม่ไหว จึงออกมาเรียกร้องและชุมนุมอย่างต่อเนื่อง

* ในการชุมนุมของกลุ่มปลดแอกใน 14 ต.ค.นี้นั้น คาดว่าผู้ชุมนุมจะใกล้เคียงกับการชุมนุมเมื่อวันที่ 19 ก.ย.63
* ในวันที่ 1 หรือ 2 พ.ย.นี้ ต้องดูว่าทางรัฐบาลจะรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ ถ้าไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ จะเกิดการชุมนุมใหญ่ขึ้นอีกครั้งแน่นอน

: เวลา 1245 น. เป็นการแสดงดนตรีสะท้อนสังคมกับวง แฮมเมอร์

– มวลชนภายในบ้านเจ้าพระยา ประมาณ 200 คน
– เหตุการณ์ทั่วไปปกติ

**แกนนำที่พบ
– นายสนธิ ลิ้มทองกุล
– นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์
– นายพิภพ ธงไชย
– คุณรสนา โตสิตระกูล
– คุณมาลีรัตน์ แก้วก่า
– นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

อ่านต่อ